วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศ


ระบบประมวลผลข้อมูล

ระบบประมวลผลข้อมูล(Data Processing Systems หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ(Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน(transaction)และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาดโดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ(operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเก็บอยู่ในระบบได้


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System)หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับคือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้ราายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัทจุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเหฆ้นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลของระดับปฏิบัติการด้วย

คุณสมบัติที่ดีระบบเอ็มไอเอสคือ
1.ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
2. ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
3. ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
4. ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
5. ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบเอ็ม
ไอเอสอีกระดับหนึ่ง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดง
กราฟิกแบบต่าง ฟ หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นต้น

คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดี
1.ระบบดีเอสเอส จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบดีเอสเอสจะต้อบงถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีครงสร้างแน่นอนได้
3. ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นทีร่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4.ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถารการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์าหรัยช่วยเหลือผู้ทำพการตัดสินใจ
5.ระบบดีเอสเอสต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมุลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.ระบบดีเอสเอสต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
7. ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการรบริหารแบบต่าง ๆ


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information Systems)หรือ ESS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับลสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่วงได้ว่าระบบอีไอเอสก็คือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูง

ข้อดีของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
1.ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการนใช้งาน
2.การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3.ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4.ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น
5.มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
6.ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสียของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
1.อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกได้รับข้อมูลมากเกินไป
2.ยากต่อการประเมิณผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
3.ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
4.ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตอลดเวลา
5.ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล


ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)

ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่น อยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์

ข้อดีระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรก็สามารถนำความรู้นี้ไปประกอบอาชีพได้
2.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพรน้อม ๆ กันได้
3.ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
6.ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การบริหารที่เป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์การ
การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น ข้อมูลและสารสนเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการวางแผนปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

องค์การและสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง
การนำทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์

องค์ประกอบขององค์การ
1. ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2. กระบวนการผลิต
3. ผลผลิต

ระบบสารสนเทศ
เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ ความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ
องค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็น
ผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ คือ
1. ลดระดับขั้นตอนของการจัดการ
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน
นำมาสร้างเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ
ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า

รูปแบบขององค์การแบบใหม่
เป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงประกอบด้วย
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4. มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น 4 ระดับ
1. ผู้ปฏิบัติงาน
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
3. ผู้บริหารระดับกลาง
4. ผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS)
5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)



ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS)


- เป็นระบบที่มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย
- ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ การประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม 2. การประมวลผลแบบทันที

หน้าที่การประมวลผลรายการ
- การทำบัญชี (Book Keeping) เช่น บันทึกข้อมูลรายการทางธุรกิจ
- การออกเอกสาร (Document Issuance) เช่น ออกใบรับส่งสินค้า ออกเช็ค ออกใบเสร็จรับเงิน
- การควบคุมรายงาน (Control Reporting) เช่น ออกรายงานเงินเดือน ออกรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)

-จัดทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1. รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2. รายงานสรุป
3. รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4. รายงานที่จัดทำตามต้องการ
ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) โดยอาศัยข้อมูลจากระบบการประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นภายในองค์การ เช่นระบบการประมวลผลใบสั่งซื้อ (Order processing system) ระบบการวางแผนแหล่งวัตถุดิบ (Material resource planning systems) และระบบบัญชีแยกประเภท (General ledger systems) ซึ่งแต่ละระบบจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลสำรอง (Storage) เพื่อดึงแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการประมวลผลแล้วส่งข้อมูลที่ได้มาเก็บที่แฟ้มสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS file)


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)

-เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
-โดยปกติแล้ว TPS และ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไป เพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้ได้แก่
-โปรแกรม Interralelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา

-โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่ โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่างๆ
-โปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ การวางแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS)


-เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์
-ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ
-เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง


ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกอสงค์กร เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบและใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่ายนอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริหารดูรายละเอียดที่ต้องการในจุดต่างๆ ได้อีกด้วย



ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)

-เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI
-เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI
-เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท



ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
-OIS สามารถนำมาช่วยงานในหลายๆ กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมาย การค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ



อ้างอิงจาก (http://learners.in.th/blog/mut-muttika/154342)

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทบาทของคอมพิวเตอร์

บทบาทของคอมพิวเตอร์


ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้
ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต
คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ และหนึ่งในนั้นที่เข้าไปมีบทบาทคือ
ด้านการจัดการทางการเงิน

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้อง ทำให้การวางแผนธุรกิจ
เป็นไปอย่างง่ายดาย
คอมพิวเตอร์จะช่วยประมาณสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
สามารถช่วยงานธุรการ เช่น จัดการเกี่ยวกับบุคลากร เงินเดือน พัสดุ ค่าใช้จ่าย รายได้
ภาษีอากร การทำจดหมายโต้ตอบ การทำรายงาน เป็นต้น

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร

คอมพิวเตอร์จะช่วยในการการจัดบัญชีเงินฝาก การถอนเงิน การคิดดอกเบี้ย
การเปรียบเทียบเงินตราต่างประเทศ
การบริการ AUTOMATICTELLERMACHINE หรือ ATM

บทบาทคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก

คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดราคาสินค้า การพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการทางการเงิน

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information Systems)

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน

สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ 1) การเงินของบริษัท 2) การจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท ประเภทของระบบสารสนเทศทางการเงินที่สำคัญที่รวมการจัดการเงินสดและการลงทุน การทำงบประมาณการเงิน การคาดการณ์ทางการเงิน และการวางแผนทางการเงิน
การจัดการเงินสด (Cash Management)

ระบบการจัดการด้านเงินสด รวบรวมสารสนเทศจากใบเสร็จรับเงินและการจ่ายเงินเวลาตามจริง (Realtime) หรือเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นทำให้ธุรกิจสามารถนำเข้าหรือขยายเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากเงินทุนที่นำเข้าหรือใช้ในการลงทุน ระบบนี้ยังช่วยคาดการณ์เรื่องการรับเงินสดหรือเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตหรือการคาดการณ์การไหลเวียนด้านการเงิน (Cash Flow Forecasts) เพื่อตรวจตราการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่ารายจ่าย สามารถใช้เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องโปรแกรมการสะสมเงินสดให้ดีที่สุดและหาทางเลือกด้านการจัดการการเงินหรือกลยุทธ์ในการลงทุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่ารายจ่ายในอนาคต
การจัดการการลงทุนออนไลน์ (Online Investment Management)

หลายธุรกิจลงทุนเพื่อเพิ่มเงินสดระยะสั้นในตลาดที่ความเสี่ยงสูง เช่น พันธบัตรของรัฐบาล การลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูงด้วย หรือในทางเลือกอื่นที่จะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ซึ่งในการลงทุนเพื่อได้รับเป็นเงินตอบแทนที่ปลอดภัย สามารถจัดการได้ด้วยความช่วยเหลือจากโปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดการด้านนี้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนและความปลอดภัยทางการค้าสามารถหาได้จากแหล่งออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ

งบประมาณเงินลงทุน (Capital Budgeting )

ในกระบวนการเรื่องงบประมาณเงินลงทุน เกี่ยวข้องกับการประเมินความเป็นไปได้ในการทำผลกำไรและผลกระทบจากการใช้จ่ายเงินทุนที่ได้วางแผนไว้ ค่าใช้จ่ายระยะยาวสำหรับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่และเครื่องมือต่างๆสามารถวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิคมากมาย ระบบงานนี้ทำให้เกิดการใช้รูปแบบตารางทำการ (Spreadsheet) ซึ่งวิเคราะห์มูลค่าในปัจจุบันของการไหลเวียนเงินสด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเสี่ยงในเรื่องการให้ผลดีที่สุดของเงินทุนโครงการสำหรับธุรกิจ
การคาดการณ์และการวางแผนด้านการเงิน (Financial Forecasting and Planning)

การวิเคราะห์ด้านการเงินโดยปกติแล้ว จะใช้ตารางทำการและซอฟต์แวร์การวางแผนด้านการเงิน (Financial Planning Software) เพื่อประเมินสภาพปัจจุบันและผลการทำงานด้านการเงินของโครงการของธุรกิจ ช่วยในการหาข้อสรุปทางด้านความต้องการด้านการเงินของธุรกิจและวิเคราะห์วิธีการอื่นๆ ทางด้านการเงินอีกด้วย การวิเคราะห์การคาดการณ์ด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ การดำเนินงานของธุรกิจ ประเภทของการเงินที่ได้รับ อัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้น และราคาพันธบัตร ช่วยพัฒนาการวางแผนและจัดการแบบจำลองทางด้านการเงินสำหรับธุรกิจ เช่น Electronic Spreadsheet Package, DSS และ Web-based Groupware