วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศ


ระบบประมวลผลข้อมูล

ระบบประมวลผลข้อมูล(Data Processing Systems หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ(Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน(transaction)และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาดโดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ(operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเก็บอยู่ในระบบได้


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System)หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับคือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้ราายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัทจุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเหฆ้นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลของระดับปฏิบัติการด้วย

คุณสมบัติที่ดีระบบเอ็มไอเอสคือ
1.ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
2. ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
3. ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
4. ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
5. ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบเอ็ม
ไอเอสอีกระดับหนึ่ง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดง
กราฟิกแบบต่าง ฟ หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นต้น

คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดี
1.ระบบดีเอสเอส จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบดีเอสเอสจะต้อบงถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีครงสร้างแน่นอนได้
3. ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นทีร่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4.ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถารการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์าหรัยช่วยเหลือผู้ทำพการตัดสินใจ
5.ระบบดีเอสเอสต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมุลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.ระบบดีเอสเอสต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
7. ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการรบริหารแบบต่าง ๆ


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information Systems)หรือ ESS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับลสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่วงได้ว่าระบบอีไอเอสก็คือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูง

ข้อดีของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
1.ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการนใช้งาน
2.การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3.ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4.ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น
5.มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
6.ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสียของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
1.อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกได้รับข้อมูลมากเกินไป
2.ยากต่อการประเมิณผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
3.ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
4.ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตอลดเวลา
5.ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล


ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)

ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่น อยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์

ข้อดีระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรก็สามารถนำความรู้นี้ไปประกอบอาชีพได้
2.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพรน้อม ๆ กันได้
3.ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
6.ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การบริหารที่เป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์การ
การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น ข้อมูลและสารสนเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการวางแผนปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

องค์การและสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง
การนำทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์

องค์ประกอบขององค์การ
1. ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2. กระบวนการผลิต
3. ผลผลิต

ระบบสารสนเทศ
เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ ความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ
องค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็น
ผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ คือ
1. ลดระดับขั้นตอนของการจัดการ
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน
นำมาสร้างเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ
ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า

รูปแบบขององค์การแบบใหม่
เป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ
ลักษณะขององค์การเสมือนจริงประกอบด้วย
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4. มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น 4 ระดับ
1. ผู้ปฏิบัติงาน
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
3. ผู้บริหารระดับกลาง
4. ผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS)
5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)



ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS)


- เป็นระบบที่มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย
- ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ การประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม 2. การประมวลผลแบบทันที

หน้าที่การประมวลผลรายการ
- การทำบัญชี (Book Keeping) เช่น บันทึกข้อมูลรายการทางธุรกิจ
- การออกเอกสาร (Document Issuance) เช่น ออกใบรับส่งสินค้า ออกเช็ค ออกใบเสร็จรับเงิน
- การควบคุมรายงาน (Control Reporting) เช่น ออกรายงานเงินเดือน ออกรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)

-จัดทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1. รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
2. รายงานสรุป
3. รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ
4. รายงานที่จัดทำตามต้องการ
ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) โดยอาศัยข้อมูลจากระบบการประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นภายในองค์การ เช่นระบบการประมวลผลใบสั่งซื้อ (Order processing system) ระบบการวางแผนแหล่งวัตถุดิบ (Material resource planning systems) และระบบบัญชีแยกประเภท (General ledger systems) ซึ่งแต่ละระบบจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลสำรอง (Storage) เพื่อดึงแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการประมวลผลแล้วส่งข้อมูลที่ได้มาเก็บที่แฟ้มสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS file)


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)

-เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
-โดยปกติแล้ว TPS และ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไป เพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้ได้แก่
-โปรแกรม Interralelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา

-โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่ โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่างๆ
-โปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ การวางแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS)


-เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์
-ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ
-เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง


ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกอสงค์กร เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบและใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่ายนอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริหารดูรายละเอียดที่ต้องการในจุดต่างๆ ได้อีกด้วย



ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)

-เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI
-เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI
-เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท



ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
-OIS สามารถนำมาช่วยงานในหลายๆ กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมาย การค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ



อ้างอิงจาก (http://learners.in.th/blog/mut-muttika/154342)