วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศ


ระบบประมวลผลข้อมูล

ระบบประมวลผลข้อมูล(Data Processing Systems หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ(Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน(transaction)และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาดโดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ(operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเก็บอยู่ในระบบได้


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System)หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับคือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้ราายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัทจุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเหฆ้นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลของระดับปฏิบัติการด้วย

คุณสมบัติที่ดีระบบเอ็มไอเอสคือ
1.ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
2. ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
3. ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
4. ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
5. ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบเอ็ม
ไอเอสอีกระดับหนึ่ง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดง
กราฟิกแบบต่าง ฟ หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นต้น

คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดี
1.ระบบดีเอสเอส จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบดีเอสเอสจะต้อบงถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีครงสร้างแน่นอนได้
3. ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นทีร่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4.ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถารการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์าหรัยช่วยเหลือผู้ทำพการตัดสินใจ
5.ระบบดีเอสเอสต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมุลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.ระบบดีเอสเอสต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
7. ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการรบริหารแบบต่าง ๆ


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information Systems)หรือ ESS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับลสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่วงได้ว่าระบบอีไอเอสก็คือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูง

ข้อดีของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
1.ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการนใช้งาน
2.การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3.ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4.ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น
5.มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
6.ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสียของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
1.อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกได้รับข้อมูลมากเกินไป
2.ยากต่อการประเมิณผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
3.ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
4.ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตอลดเวลา
5.ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล


ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)

ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่น อยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์

ข้อดีระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรก็สามารถนำความรู้นี้ไปประกอบอาชีพได้
2.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพรน้อม ๆ กันได้
3.ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
6.ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น